บัวหลวงสุตตบุษย์



ชื่อไทย : บัวหลวงสัตตบุษย์

ชื่อสามัญ : magnolia lotus, album plenum

ชื่อวิทยาศาสตร์ : nelumbo nueifera gaertn

ชื่ออื่นๆ : บัวหลวงฉัตรขาว, บัวหลวงป้อมขาว

วงศ์ : nelumbonaceae

สกุล : lotus

ผู้ค้นพบ : เป็นบัวพื้นเมืองของทวีปเอเชีย

ประวัติ : เป็นบัวที่มีอยู่แล้วดังเดิมในทวีปเอเชีย

ถิ่นกำเนิด : ทวีปเอเชีย

ช่วงเวลาบาน : บานตอนกลางวัน (04.00 น. – 14.00 น.)

สี : สีขาวนวล

กลิ่น : หอมอ่อนๆ

ลักษณะดอก :
ดอกตูม : ทรงดอกค่อนข้างป้อม ตรงกลางกว้างโคนและปลายเรียว เส้นผ่านศูนย์กลาง 5 – 8 เซนติเมตร
ยาว 10 – 12 เซนติเมตร โคนสีเขียวอ่อนปลายสีขาว

ดอกบาน
– สีกลีบดอก : สีขาวนวล
– เกสร : อับเรณูสีเหลือง ก้านอับเรณูสีเหลือง เกสรเพศเมียสีเหลือง จะเปลี่ยนเป็นสีเหลือบเขียวอ่อนเมื่อดอกโรย
– ทรงกลีบดอก : โคนกว้างปลายเรียว
– ทรงดอกบาน : ทรงป้อมรูปถ้วย, แผ่ครึ่งวงกลม
– กลีบดอก : ซ้อนมาก และกลีบเกสรซ้อนมาก
– ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง : 12 -15 เซนติเมตร

ลักษณะก้านใบและก้านดอก : ก้าน แข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 1.5 เซนติเมตร สีเขียวอ่อน เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลเหลือบเขียว สูงประมาณ 130 – 150 เซนติเมตร

ลักษณะใบ :
– ใบอ่อน : ใบอ่อนที่แผ่ราบบนผิวน้ำ มีลักษณะกลม หัวท้ายคอด หน้าใบสีเขียวอ่อน หลังใบสีเทาอมชมพูจางๆ
– ใบแก่ : ใบที่ชูพ้นน้ำแล้ว หน้าใบสีเขียว หลังใบสีเขียวอ่อน หรือเทานวล
– ขนาดใบ : 30 – 45 เซนติเมตร

วิธีปลูก :
1. การปลูกในสระหรือบ่อ
2. การปลูกในกระถาง
– การพักตัวของบัว : ไม่พักตัว
– ความกว้างของผิวน้ำ : แคบ, ปานกลาง, กว้าง
– ความลึกของน้ำ : ตื้น, ลึกปานกลาง, ลึก
– แสง : รับแดด
– การขยายพันธุ์ : เหง้า, ไหล

วิธีดูแลรักษา :
โรคและแมลงศัตรู
– แมลง : ไรแดง, เพลี้ย และหนอนชอนใบ
– อาการ: ใบเหี่ยวแห้ง เป็นใบกระโถน ใบโปรงฟ้า
การป้องกัน กำจัด : ใช้สารเคมีกลุ่มคาบาริล คาร์โบซัลเฟน เมทโธมิล ผสมน้ำ และสารจับใบฉีดพ่นทุก 2 – 3 สัปดาห์

ประโยชน ์: บัวหลวงสัตตบุษย์ใช้เป็นไม้ดอกไม้ประดับ บูชาพระ อาหาร โอสถสาร สมุนไพร และเป็นของประดับตกแต่ง


กลับสู่ด้านบน

ใส่ความเห็น