บัวหลวงราชินี
ชื่อสามัญ : lotus
ชื่อวิทยาศาสตร์ : nelumbo nucifera gaertn
ชื่ออื่นๆ : บัวหลวงเพชรบุรี
วงศ์ : nelumbonaceae
สกุล : lotus
ประวัติ: เป็น บัวที่สมเด็จพระเจ้าพระบรมราชินีนาถทรงรับสั่งให้เจ้าหน้าที่ไปเก็บต้น พันธุ์บัว ที่พระองค์ทรงโปรดจากจังหวัดเพชรบุรี ไปปลูกอนุรักษ์ที่ศูนย์การพัฒนาพิกุลทางจังหวัดนราธิวาส เมื่อปี พ.ศ. 2543
ถิ่นกำเนิด : ไทย
ช่วงเวลาบาน : บานตอนกลางวัน (04.00 น. – 14.00 น.)
สี : สีชมพูแก่
กลิ่น : หอมอ่อนๆ
ลักษณะดอก :
ดอกตูม : ทรงดอกโคนกว้างปลายเรียว อ้วนป้อม ความอ้วนกับความสูงเกือบจะเท่ากัน คือเส้นผ่าศูนย์กลางของดอกสั้นกว่าความยาวของดอกเพียงเล็กน้อย โคนสีเขียวอ่อน ปลายสีเหลือบชมพู
ดอกบาน
– สีกลีบดอก : สีชมพูแก่
– เกสร : อับเรณูสีขาว ก้านอับเรณูสีเหลืองชมพูอ่อน ๆ เกสรเพศเมียสีเหลือบชมพูอ่อน
– ทรงกลีบดอก : โคนกว้างปลายเรียว
– ทรงดอกบาน : แผ่ครึ่งวงกลม , ทรงป้อมรูปถ้วย
– กลีบดอก : ซ้อนมาก และกลีบเกสรซ้อนมาก
– ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลาง : 12 – 15 เซนติเมตร
ลักษณะก้านใบและก้านดอก :
ก้านแข็ง เส้นผ่านศูนย์กลาง 1 – 1.5 เซนติเมตร เมื่อแก่จะเปลี่ยนเป็นสีน้ำตาลอ่อนเหลือบเขียว สูงประมาณ 130 – 150 เซนติเมตร
ลักษณะใบ :
– ใบอ่อน : ลักษณะค่อนข้างกลม หน้าใบสีเขียวอ่อน หลังใบสีเทาอมชมพู
– ใบแก่ : ชูแผ่เต็มที่แล้วมีลักษณะกลม ขนาดใหญ่ หน้าใบสีเขียวเข้ม หลังใบสีนวลอมเทา
– ขนาดใบ : 50 – 60 เซนติเมตร
วิธีปลูก :
1. การปลูกในสระหรือบ่อ
2. การปลูกในกระถาง
การพักตัวของบัว : ไม่พักตัว
ความกว้างของผิวน้ำ : แคบ, ปานกลาง, กว้าง
ความลึกของน้ำ : ตื้น, ลึกปานกลาง , ลึก
แสง : รับแดด
การขยายพันธุ์ : เหง้า, ไหล
วิธีดูแลรักษา :
โรคและแมลงศัตรู
– แมลง : ไรแดง เพลี้ย และหนอนชอนใบ
– อาการ : ใบเหี่ยวแห้ง เป็นใบกระโถน ใบโปร่งฟ้า
การป้องกัน กำจัด : ใช้สารเคมีกลุ่มคาบาริล คาร์โบซัลเฟน เมทโธมิล ผสมน้ำ และสารจับใบฉีดพ่นทุก 2 – 3 สัปดาห์
ประโยชน ์: บัวหลวงมีประโยชน์ทุกส่วนของบัว เป็นไม้ดอกไม้ประดับ บูชาพระ อาหาร โอสถสาร สมุนไพร และเป็นของประดับตกแต่ง